กรณีศึกษาที่
4: อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- อาคารเบิร์จ
คาลิหาร์ (Burj Khalifa), ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ภาพที่ 6.3.4.1 อาคารเบิร์จ คาลิฟาร์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มา : http://www.burjkhalifa.ae/, สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2555 |
1.รายละเอียดอาคาร
Burj Khalifa หรือเรียกกันง่ายๆว่า Burj Dubai (เบิร์จ ดูไบ) ตึกสูงในนครดูไบ
ประเทศ
เศรษฐีน้องใหม่สหัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยความสูงสถิติโลก 169 ชั้น 828 เมตร หรือ
2,717
ฟุต รูปทรงอาคารเมื่อมองจากด้านบนลงมาจะเห็นเป็นกลีบดอกไม้
ภาพที่ 6.3.4.2
ภาพตัดของ Tokyo Sky Tree ตามระดับความสูงต่าง ๆ ที่มา : http://ganook.com/board/index.php?topic=4295.0, สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2555 |
2.การปรับแต่งรูปทรงอาคาร
รูปทรงอาคารตั้งแต่บริเวณฐานเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมสามแฉกแล้วขาที่แยกออกเป็นสามแฉกทำให้เกิดเป็นพื้นที่รับแรงลมแต่ในชั้นความสูงที่มากขึ้นขาที่แยกออกได้มีการปรับแต่งให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมแบบมนทั้งนี้เป็นเพราะต้องการความสวยงามของอาคารและส่งผลให้ลดผลกระทบจากแรงกระทำทางด้านข้างเนื่องจากพื้นที่ที่รับแรงลมน้อยลง
ทั้งหมดทุกชั้นของอาคารได้มีการลบมุมของอาคารเพื่อทำให้การสั่นตัวเนื่องจากกระแสวอร์เท็กซ์นั้นลดลง
3.การเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้าง
- โครงสร้างหลัก
โครงสร้างใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กระบบ“Bundled tube”
เป็นระบบโครงสร้างที่มีการกระจายแรงไปตามขอบอาคารลักษณะการกระจายแรงเหมือนกล่อง
และแต่ละความสูงอาคารจะมีลักษณะหน้าตัดที่แตกต่างกันออกไปทำให้มีพฤติกรรมการรับแรงที่แตกต่างกันออกไป
และยังใช้ระบบ Shear wall เป็นแกนกลางอาคาร
ภาพที่ 6.3.4.5
แกน core ของอาคารเบิร์จ คาลิฟาร์
ที่มา :
http://www.gostructural.com/userfiles/newsletter/image/SE1209_p13.jpg, สืบค้นเมื่อ
20 พฤษภาคม 2555
|